Responsive image
เมนูหลัก
หน้าหลัก
เกี่ยวกับตำบล
ประวัติความเป็นมา
สภาพทั่วไป
สภาพสังคม
สภาพทางเศรษฐกิจ
การบริการพื้นฐาน
สินค้า OTOP
สถานที่สำคัญ/แหล่งท่องเที่ยว
เกี่ยวกับเรา
วิสัยทัศน์/พันธกิจ
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
โครงสร้างส่วนราชการ
บทบาทหน้าที่
แผนพัฒนาท้องถิ่น
กลุ่มอาชีพ
E-service
Social Network
ITA
ITA ปี พ.ศ. 2567
บุคลากร
คณะผู้บริหาร
สมาชิกสภา
สำนักปลัด
กองคลัง
กองช่าง
ข่าวสารตำบล
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
แผนการจัดซื้อจัดจ้างหรือแผนการจัดหาพัสดุ
ข้อบัญญัติ
แผนพัฒนาสามปี
แผนการดำเนินงานประจำปี
งานนโยบายและแผน
การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร
แผนอัตรากำลังสามปี
แผนป้องกันการทุจริต
มาตรฐานการปฏิบัติงาน
มาตรฐานการให้บริการ
รายงานการดำเนินงานประจำปี
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
รายงานการใช้จ่ายงบประมาณ
รายงานการจัดซื้อจัดจ้าง
นโยบายบริหารทรัพยากรบุคคล
การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
รายงานการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต
การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริต
ข่าวสารเครือข่าย
ข่าวประชาสัมพันธ์เครือข่าย
ข่าวกิจกรรมเครือข่าย
ปฏิทินกิจกรรมเครือข่าย
ข่าวรับสมัครโอน/ย้ายเครือข่าย
สินค้า OTOP เครือข่าย
พรบ.ข้อมูลทั่วไป
หนังสือสั่งการ สถ.
พรบ./พรก.
กฎระเบียบกระทรวง
คำสั่ง สถ.
มติ ก. อบจ.
มติ ก. เทศบาล
มติ ก. อบต.
ระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
รายรับรายจ่าย
รายงานการประชุม
เว็บบอร์ด
ร้องเรียนการทุจริต
ข้อเสนอแนะ ติชม
รับเรื่องราวร้องทุกข์
เว็บบอร์ดเครือข่าย
อุทธรณ์ผลการพิจารณาประกาศผลผู้ชนะการประกวด (e-bidding)
การวิจารณ์ร่าง TOR (e-bidding)
ติดต่อเรา
ติดต่อเรา
แผนที่ดาวเทียม
คู่มือประชาชน
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมาของตำบลนางหลง
     บ้านนางหลง เป็นชื่อของชุมชนที่มีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจมาก่อน ในอดีตเป็นชุมชนหนาแน่นมีการค้า-ขายสินค้าผลิตผลทางการเกษตรและสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆ เช่น ร้านขายผ้า ร้านขายอุปกรณ์การศึกษา และของใช้ประจำวันวัน เช่น ยาสีฟัน สบู่ ฯลฯ และมีตลาดนัดประจำชาชน คือ วันเสาร์ วันอังคาร ซึ่งประชาชนในท้องถิ่นและต่างถิ่น เช่น ขอนหาด แหลมตะโหนด ปากคลอง ลานข่อย ป่าพะยอม เคร็ง และที่อื่นๆ ได้นำสินค้าทางการเกษตร มาขาย เช่น กล้วย ขมิ้น มะพร้าว ปลา และอื่นๆ มาช่วงระยะหลังการค้าขายไม่ดีผู้ค้าบางคนได้ย้ายถิ่นฐานไปทำมาหากินที่อื่น เช่น สตูล พัทลุง หาดใหญ่ กรุงเทพฯ สาเหตุมาจากเส้นทางคมนาคม สาย 41 ตัดผ่าน และสายอื่นๆ ทำให้ผู้คนเดินทางไปซื้อของในตัวเมืองมากขึ้น ตลาดนางหลงเลยไม่มีผู้คนมาจับจ่ายใช้สอย การค้าขายเลยซบเซาและในที่สุดตลาดนัดดังกล่าวปิดตัวลงทำให้ความสัมพันธ์ทางการค้าของประชาชนที่มีมาแต่เดิมเปลี่ยนแปลงไป เมื่อประมาณปี พ.ศ.2520 เป็นต้นมา
     สำหรับประวัติคำว่า “นางหลง” เดิมเป็นที่ตั้งชุมชนแห่งหนึ่งในตำบลนางหลง ซึ่งปัจจุบันอยู่ในหมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 7 ซึ่งอยู่ริมถนนรถไฟทั้งสองด้านตรงสะพานโค้งมีตำนานเล่าว่า มีเจ้าฟ้าหญิงของเมืองใดไม่มีใครทราบที่หลงรักทหารในราชวังแล้วพากันหนีตามกันมาและหลงทางจนกระทั่งพระบิดาตามมาทันจับได้สั่งประหารชีวิตพร้อมกับผู้ติดตามแต่ไม่มีใครทราบว่าทหารที่เจ้าฟ้าหญิงหลงรักนั้นถูกจับด้วยหรือไม่ ตามตำนานบอกว่าผู้ที่ตามมากับเจ้าฟ้าหญิงถูกประหาร ซึ่งที่ประหารนั้นได้ปักหลักเอาไว้และยังมีจนถึงปัจจุบัน ชาวบ้านแถวนั้นปัจจุบันเรียกว่า “หลักแม่เจ้าอยู่หัว” อยู่ที่วัดท่าทราย (วัดในเกาะ) ปัจจุบันผู้ที่มีบวชและเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านปัจจุบันคือ ตาหลวงแก่ หม่อมรอง หม่อมคง ทวดหม่อม และรวมถึงหลักแม่เจ้าอยู่หัว “นางหลงนั้นอาจมาจากเจ้าฟ้าหญิงหลงทางก็เป็นได้แต่ไม่ขอยืนยันเพราะมีแต่หลักไม้อย่างเดียวไม่พบหลักฐานอื่นๆ ”
     ชุมชนนางหลงเกิดขึ้นเมื่อใดไม่มีหลักฐานแน่ชัด แต่จากตำนานและคำบอกเล่าของชุมชนนางหลงแห่งนี้น่าจะเกิดขึ้นก่อน พ.ศ.2475 อย่างแน่นอนเพราะสาเหตุหลายประการ เช่น
          1. เมื่อมีการสร้างรถไฟสายใต้ ทางการได้ตั้งสถานีที่แห่งนี้ แสดงให้เห็นว่าที่นี้มีชุมชนอยู่ก่อนแล้ว
          2. สมัยที่มีการก่อสร้างพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช จากคำบอกเล่าทราบว่าชุมชนแห่งนี้มีประชาชนอาศัยอยู่แล้วเพราะว่าได้มีขบวนของผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนานำแก้ว แหวน เงิน ทอง เพื่อไปสร้างพระธาตุเดินทางผ่านทางนี้